เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
2.จรวรรค 6.โสขุมมสูตร

1. เป็นผู้ประกอบด้วยรูปโสขุมมญาณ1 ไม่เห็นรูปโสขุมมญาณอื่น
ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่ารูปโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนา
รูปโสขุมมญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่ารูปโสขุมมญาณนั้น
2. เป็นผู้ประกอบด้วยเวทนาโสขุมมญาณ ไม่เห็นญาณอื่นที่ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าเวทนาโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนาเวทนาโสขุมม-
ญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าเวทนาโสขุมมญาณนั้น
3. เป็นผู้ประกอบด้วยสัญญาโสขุมมญาณ ไม่เห็นญาณอื่นที่ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าสัญญาโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนาสัญญาโสขุมม-
ญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสัญญาโสขุมมญาณนั้น
4. เป็นผู้ประกอบด้วยสังขารโสขุมมญาณ ไม่เห็นสังขารโสขุมมญาณอื่น
ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสังขารโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนา
สังขารสขุมมญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสังขารโสขุมม-
ญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย โสขุมมญาณ 4 ประการนี้แล
ภิกษุใดรู้ความละเอียดแห่งรูปขันธ์
รู้แดนเกิดแห่งเวทนาขันธ์
รู้เหตุเกิดและที่ดับแห่งสัญญาขันธ์
รู้สังขารขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง2
เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
ภิกษุนั้นแลเห็นชอบ สงบ
ยินดีในสันติบท3 ชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ธำรงร่างกายชาติสุดท้ายไว้

โสขุมมสูตรที่ 6 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์]
2.จรวรรค 8.ทุติยอคติสูตร

7. ปฐมอคติสูตร
ว่าด้วยอคติ สูตรที่ 1

[17] ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ1 (ความลำเอียง) 4 ประการนี้
การถึงอคติ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมถึง
1. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ) 2. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)
3. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง) 4. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)
ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ 4 ประการนี้แล
บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม
ดุจดวงจันทร์ข้างแรมฉะนั้น

ปฐมอคติสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยอคติสูตร
ว่าด้วยอคติ สูตรที่ 2

[18] ภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ 4 ประการนี้
การไม่ถึงอคติ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมไม่ถึง
1. ฉันทาคติ 2. โทสาคติ
3. โมหาคติ 4. ภยาคติ
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ 4 ประการนี้แล